นครแฟรงก์เฟิร์ต ณ ประเทศเยอรมนี เมืองใหญ่ชื่อคุ้นหู เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกเป็นอย่างดี เมืองใหญ่อันดับ 5 ของประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไมน์ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมทางอากาศ ศูนย์กลางการบินของสายการบินลุฟต์ฮันซาและสำนักงานใหญ่เครือข่ายการบินสตาร์อลิอันซ์ มีจุดแลนด์มาร์กสำคัญ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง “จตุรัสโรเมอร์” ที่ตั้งของน้ำพุแห่งความยุติธรรม ที่มีเทพีแห่งความเที่ยงตรง ยืนสง่าถือตราชั่งและดาบเปรียบดั่งการตัดสินและลงโทษอย่างเฉียบขาด ล้อมรอบด้วยกลุ่มอาคารบ้านโครงไม้โบราณ (Half-Timbered) สัญลักษณ์คุ้นตาของจัตุรัสแห่งนี้ และสำหรับคนที่ชื่นชอบงานศิลปะ ก็มี พิพิธภัณฑ์ชตาเดิล Stadel Museum เก็บงานศิลปะไว้มากมาย ไม่แพ้พิพิธภัณฑ์ใดในประเทศเยอรมนี

น้ำพุเทพีแห่งความยุติธรรม ณ จตุรัสโรเมอร์

นครแฟรงเฟิร์ตประเทศเยอรมนี เป็นเมืองที่มีผู้แวะมาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะมาติดต่อเรื่องธุรกิจการค้า หรือเพื่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทย เพราะประเทศเยอรมนีมี 2 เมืองใหญ่ที่ สายการบินไทย บินตรงจากกรุงเทพฯ มาสู่ประเทศเยอรมนี คือ แฟรงก์เฟิร์ต และ มิวนิก อีกทั้งยังมีสายการบิน ลุฟท์ฮันซ่า สายการบินประจำชาติเยอรมันก็มีเที่ยวบินตรงมายังทั้งสองเมืองนี้ ดังนั้นคนไทยจะคุ้นเคยกับการเดินทางมาที่ประเทศเยอรมนี แล้วต้องมีการผ่านเข้าออกประเทศเยอรมนี ไม่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตก็เมืองมิวนิก เมืองใหญ่ทางตอนใต้แห่งแคว้นบาวาเรียนั่นเอง

ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ชตาเดิล ( Städel Museum ) ภาพจาก www.staedelmuseum.de

หากท่านมีเวลาว่างอย่างน้อยสัก 2 ชั่วโมง ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต อยากจะแนะนำให้ท่านลองแวะไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ชตาเดิล Stadel Museum ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากจตุรัสโรเมอร์ซึ่งเป็นจุดนัดหมายยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ระยะเดินเพียงประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ท่านจะได้พบกับสุดยอดผลงานศิลปะที่เป็นงานมาสเตอร์พีชระดับโลก จากศิลปินผู้ยิ่งใหญ่มากมาย รวมทั้งมีงานศิลปะจากศิลปินท้องถิ่นชาวเยอรมันจัดแสดงอีกด้วย โดยทางพิพิธภัณฑ์จะแสดงผลงานศิลปะที่เก่าแก่ย้อนกลับไปประมาณ 700 ปี แบ่งกลุ่มงานศิลปะอย่างชัดเจน โดยใช้ช่วงเวลากำหนดเป็น 3 ช่วง คือ

1. Old Master ช่วงปี ค.ศ.1300-1800

มีผลงานภาพวาดอย่างหลากหลายในช่วง 500 ปีนี้ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ผลงานในช่วงศ.ต.ที่ 14 (ค.ศ. 1300-1399) ส่วนมากยังคงมีลักษณะงานที่สร้างด้วยความศรัทธาที่มีต่อศาสนาคริสต์ ถวายต่อพระเจ้าผ่านงานศิลปะ พอถึงช่วงยุคถัดมาถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ของวงการศิลปะ เข้าสู่ยุคสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา “Renaissance” (ยุคเรเนอซองส์ ประมาณปี ค.ศ.1400-1550) ผลงานศิลปะมีการนำองค์ความรู้ของกรีกและโรมันโบราณมาผสมผสานเรื่องราวประสบการณ์ในชีวิตจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเกี่ยวกับกายมนุษย์และธรรมชาติ ในช่วงเวลาถัดมาเข้าสู่ยุคบาร็อค “Baroque” (ประมาณปี ค.ศ.1550-1800) ศิลปินเริ่มมีผลงานภาพวาดที่สมจริงยิ่งขึ้น มีการใช้เทคนิกเรื่องแสงและเงาเข้ามาเป็นจุดเด่นของงานในยุคนี้ ตัวอย่างผลงาน Masterpiece ที่ไม่ควรพลาดเยี่ยมชมอย่างยิ่ง

Stadel Museum Beaconboy Travel ชตาเดิล มิวเซียม

“Idealised Portrait of a Lady” by Sandro Botticelli – 1480

“The Blinding of Samson” by Rembrandt Harmensz. Van Rijn – 1636 ภาพวาดนี้ขนาด 206×276 ซ.ม. เทียบขนาดกับคนยืน

“ความรักทำให้แซมซันตาบอด”

“The Geographer” by Johannes Vermeer – 1669 (Photo – https://en.wikipedia.org/wiki/Geographer )

2. Modern Art ช่วงปี ค.ศ.1800-1945

เป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกับยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม การเข้าถึงศิลปะของผู้คนในยุคนี้ทำได้ง่ายและเป็นวงกว้างมากขึ้น จึงมีการสร้างคำถามและโต้แย้งกันในเรื่องศิลปะอย่างมากมาย ทั้งจากทางผู้สร้างและผู้เสพย์งานศิลป์
ขอบเขตของศิลปะอยู่ที่ใด ?
ศิลปะมีแค่เรื่องความสวยงามหรือ ?
ศาสนามีบทบาทอย่างไรต่องานศิลป์ ?
คำถามมากมายเกิดขึ้นกับเรื่องของศิลปะในยุคนี้ แต่ทุกคำถามสามารถหลอมรวมเป็นข้อสรุปได้ข้อหนึ่งคือ ยุคก่อนหน้านี้ เรื่องของศิลปะอาจจะเป็นเรื่องของแค่กลุ่มคนชั้นสูงผู้มีอันจะกิน แต่ยุคนี้ศิลปะได้เป็นส่วนหนึ่งในความคิดและจิตใจของผู้คนทุกชนชั้นในสังคมแล้ว ตัวอย่างผลงาน Masterpiece ที่ไม่ควรพลาดเยี่ยมชมอย่างยิ่ง

“The Luncheon” by Claude Monet – 1868 (Photo – https://www.wikiart.org/en/claude-monet/the-luncheon )

“Eve” by Auguste Rodin – 1881 (Photo – https://commons.wikimedia.org )

“Portrait of Fernande Olivier” by Pablo Picasso – 1909 (Photo – http://www.lankaart.org )

“Jealousy” by Edvard Munch – 1913 , on permanent loan from a private collection (Photo – https://en.wikipedia.org )

3. Contemporary Art ช่วงปี ค.ศ.1945 – ปัจจุบัน

เป็นยุคของศิลปะร่วมสมัย ซึ่งจำกัดความถึงได้อย่างยากยิ่ง เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ ไร้ขีดจำกัด มีการรวมกันอย่างหลากหลายในวิธีการคิด วัสดุประดิษฐ์ หรือแม้แต่วัฒนธรรม แม้ว่าจะผลันเปลี่ยนตลอดเวลาดั่งเส้นโค้งแต่ไม่มีจุดเปลี่ยนชัดเจนดั่งเส้นตรงหักมุม โดยส่วนมากนับช่วงเวลาการเกิดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน จึงทำให้หลายผลงานศิลปินผู้สร้างจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ ตัวอย่างผลงาน Masterpiece ที่ไม่ควรพลาดเยี่ยมชมอย่างยิ่ง

Francis Bacon Stadel Museum ชตาเดิล มิวเซียม

“Study for the Nurse in the Film Battleship Potemkin” by Francis Bacon – 1957

ฺBoat Trip ชตาเดิล มิวเซียม Stadel Museum เยอรมนี เยอรมัน แฟรงก์เฟิร์ต

“Boat Trip” by Gerhard Richter – 1965

เยี่ยมชม ชตาเดิล Stadel Museum มิวเซียม Beaconboy Travel ถ่ายเอง

“Johann Wolfgang von Goethe” by Andy Warhol – 1982

ยังมีงานศิลปะในส่วนของ Department of Prints and Drawing และงานชิ้นอื่น ๆ อีกมากมายหลากหลายที่ไม่ได้จำกัดแค่งานภาพวาดให้ท่านได้เยี่ยมชม ณ “Städel Museum แห่งนี้ หากท่านมีเวลา ณ นครแฟรงเฟิร์ต พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดรอต้อนรับท่านอยู่ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ เพราะว่าปิดทำการครับ

ข้อมูลทั่วไปของพิพิธภัณฑ์ชตาเดิล
วันเวลาทำการ อังคาร , พุธ , เสาร์ , อาทิตย์ 10:00 – 18:00
พฤหัส , ศุกร์ 10:00 – 21:00
ปิดทำการทุกวันจันทร์

ราคาบัตรเข้าชม
อังคาร – ศุกร์ / 14 ยูโร
เสาร์ – อาทิตย์ รวมถึงวันหยุด / 16 ยูโร

ส่งท้ายบทความ หากท่านใดมีโปรแกรมการเดินทางไปสู่ประเทศเยอรมนี แนะนำบทความข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าเชงเก้นและแอพพลิเคชั่นในการนับวันวีซ่าเชงเก้น เป็นข้อมูลในการพิจารณาขอวีซ่าอย่างง่ายครับ

ขอบพระคุณทุกท่าน สำหรับการเยี่ยมชมครับ